วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4




การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559
          <<<<<<<<<,เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

  • กิจกรรมแรกของการเรียนวันนี้คือ อาจารย์ให้เล่น เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร
  • เกมที่หนึ่ง เกมสื่อความหมาย

  • เกมที่สอง เกมพรายกระซิบ
  • มาเป็นวิดีโอเลยค้าาาา


  • เกมที่สาม เกมทายคำ
  • เกมที่สี่ เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

บทที่ 3 


การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย






  • ความหมายของการสื่อสาร                                                                                                                  การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 

  • ความสำคัญของการสื่อสาร          

1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

                                                   รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
                                              (Aristotle’s Model of Communication)                                                              

รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
(Lasswell’s Model of Communication)


       รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ 
(
Shannon & Weaver’s Model of Communication)

          รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
 
(C.E Osgood and Willbur Schramm’s )



       รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
 
(Berlo’s Model of Communication) 
  • องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

  • ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
• ผู้จัดกับผู้ชม
• ผู้พูดกับผู้ฟัง
• ผู้ถามกับผู้ตอบ
• คนแสดงกับคนดู
• นักเขียนกับนักอ่าน
• ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
• คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
  • สื่อ  
    ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธี  การติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน   คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้  พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
  • สาร  
        คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี     ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
  • ประเภทของการสื่อสาร 
       ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

  • ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

                             

  • อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
• ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
• ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
• ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
• ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
• เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
• รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
• ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
• อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
• ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

  • 7 c กับการสื่อสารที่ดี
• Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
• Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
• Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
• Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
• Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
• Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
• Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

  • คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
• ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
• ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
• ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
• เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน 
• เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

  • วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
  • สรุป
               การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็ก
ร่วมกัน

คำถามท้ายบทที่ 3

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป                         
ตอบ ความหมาย = การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่ง  ข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับ  มา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
         ความสำคัญ = ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม , ทำให้เกิดความ เข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย , ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น   
                                                 
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง  
ตอบ   รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) เพราะเป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ผู้ปกครองมากที่สุด

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร                                             
 ตอบ  - ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
           - ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
           - ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
           - การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
           - การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
           - ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
           - การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง 

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง   
ตอบ    1. ความพร้อม    
            2. ความต้องการ   
            3. อารมณ์และการปรับตัว     
            4. การจูงใจ                                                       
            5. การเสริมแรง      
            6. ทัศนคติและความสนใจ      
            7. ความถนัด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน เพื่อนๆน่ารักมากค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3





การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559
                          
 <<<<< ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ประชุม


วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2





การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559


    <<<<<< ดิฉันไม่ได้มาเรียนค่ะ เนื่องจากไปถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ส่มภัคเสี่ยน" ที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี





วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1







การบันทึกครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2559
                      <<<<<เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกในรายวิชา การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้แนะนำเนื้อหาของรายวิชาและชี้แจงรายละเอียดต่างๆของวิชาให้ฟัง พร้อมทั้งสอนบทที่ 1

การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์นั้นควรได้รับการดูแล ถ่ายทอดความคิด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์สมบูรณ์แบบ ควรเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ  อาจกล่าวได้ว่าบุคคลแรกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง
ความหมายของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  •   Summers Della,1998  กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
  •   Encyclopedia,2000   อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่               2 ประเภท คือ
  1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด
  2. ผู้ปกครองโดยสังคม
  • พรรณิดา  สันติพงษ์ (2526) ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกันและมีส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
  •   จินตนา  ปัณฑวงศ์ (2531)   ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
สรุปได้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ความสำคัญของผู้ปกครอง
  • Lee Center and Marlene Center,1992  ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก
  •  Pestalozzi  ได้กล่าวถึง ความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่า ความรักของพ่อแม่เป็นพลังสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรักที่ประกอบด้วยเหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงต่อไป 
  • ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดสามารถที่จะตองสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก ได้แก่ ความต้องการในการดำรงชีวิต ความต้องการความรักความอบอุ่น นอกจากนี้เด็กยังได้อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เด็กจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านเป็นสำคัญ คุณภาพของเด็กมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก
จากความสำคัญของผู้ปกครองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็กเป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน

บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง  มีความสุข
กรมวิชาการ (2545)  ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
  2. ให้ความรักและความเข้าใจ
  3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
  4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
  5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
  6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
  1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
  2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
  3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวันมีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
  1.  ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
  2.  ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
  3.  สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
  4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆ ไปใช้
  5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
  6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
  7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
  8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
  9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้

บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
  1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
  2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก             
  3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
  4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก        
  5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย

สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10  ประการ
  1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม

บทสรุป
 ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ 


1.ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง                                                                                        
ตอบ  

2.จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย                                                                                  
ตอบ  

3. การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร                                  
ตอบ 

4.ปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยคือปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย ตอบ 



การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน เพื่อนๆน่ารักมากค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น